TKN Network
Ton-Kla Indigenous Children and Youth Network
เครือข่ายเด็กและเยาวชนต้นกล้าชนเผ่าพื้นเมือง (TKN) ได้ก่อเกิดขึ้นจากการทำงานขององค์กรพี่เลี้ยง ที่ทำงานร่วมกับเด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง โดยใช้กระบวนการแบบมีส่วนร่วม เพื่อให้เด็กกลุ่มชาติพันธุ์มีความเป็นผู้นำ กล้าคิดและกล้าแสดงออก รวมทั้งมีโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้พัฒนาศักยภาพในด้านต่าง ๆ โดยมีจุดเริ่มต้นจากเด็กและเยาวชน ๙ กลุ่มชาติพันธุ์ทางภาคเหนือตอนบน คือ กะเหรี่ยง คะฉิ่น ดาราอาง ม้ง เมี่ยน ลาหู่ ลีซู ละเวือะ และอ่าข่า
ส่งผลให้เด็กและเยาวชนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องวัฒนธรรม ประเพณี ความคิด มุมมอง ทัศนคติ ทั้งในระดับบุคคล และกลุ่มชาติพันธุ์ชนเผ่าของตัวเอง จากนั้นกลุ่มเด็กเยาวชนมีความเห็นร่วมกันในการจัดตั้งเครือข่ายของเด็กเยาวชนขึ้นมาเพื่อเป็นพื้นที่และเป็นกลุ่มที่ทำงานประเด็นที่มีความใกล้เคียงกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน โดยได้ชื่อว่า “เครือข่ายเยาวชนต้นกล้าชนเผ่าพื้นเมือง” (TKN)

เครือข่ายเด็กและเยาวชนต้นกล้าชนเผ่าพื้นเมือง (TKN) ได้ก่อเกิดขึ้นจากการทำงานขององค์กรพี่เลี้ยง ที่ทำงานร่วมกับเด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง โดยใช้กระบวนการแบบมีส่วนร่วม เพื่อให้เด็กกลุ่มชาติพันธุ์มีความเป็นผู้นำ กล้าคิดและกล้าแสดงออก รวมทั้งมีโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้พัฒนาศักยภาพในด้านต่าง ๆ โดยมีจุดเริ่มต้นจากเด็กและเยาวชน ๙ กลุ่มชาติพันธุ์ทางภาคเหนือตอนบน คือ กะเหรี่ยง คะฉิ่น ดาราอาง ม้ง เมี่ยน ลาหู่ ลีซู ละเวือะ และอ่าข่า ส่งผลให้เด็กและเยาวชนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องวัฒนธรรม ประเพณี ความคิด มุมมอง ทัศนคติ ทั้งในระดับบุคคล และกลุ่มชาติพันธุ์ชนเผ่าของตัวเอง จากนั้นกลุ่มเด็กเยาวชนมีความเห็นร่วมกันในการจัดตั้งเครือข่ายของเด็กเยาวชนขึ้นมาเพื่อเป็นพื้นที่และเป็นกลุ่มที่ทำงานประเด็นที่มีความใกล้เคียงกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน โดยได้ชื่อว่า “เครือข่ายเยาวชนต้นกล้าชนเผ่าพื้นเมือง” (TKN) ซึ่งเครือข่ายเยาวชนต้นกล้าฯได้มีการพบปะพูดคุยและทำกิจกรรมร่วมกันจนเกิดความชัดเจนมากขึ้น มีโครงสร้างและมียุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน ซึ่งเครือข่ายเยาวชนต้นกล้าชนเผ่าพื้นเมืองได้ประกาศเจตนารมณ์ของการเป็นเมล็ดพันธ์รุ่นใหม่ที่จะสืบสานงานของชนเผ่าพื้นเมือง รวมถึงได้เสนอข้อเรียกร้องของเครือข่ายฯในวันชนเผ่าพื้นเมือง เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๗
หลังจากนั้นทางเครือข่ายเยาวชนต้นกล้าชนเผ่าพื้นเมือง ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับองค์กรพี่เลี้ยงและกลุ่มเยาวชนในภาคอื่น ๆ ซึ่งทำให้เกิดการขยายเครือข่ายไปยังกกลุ่มเด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองในพื้นทีสมาชิกของเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย คือ ไทยใหญ่ มอญ ญวน ไทยทรงดำ กูย ลาวเวียง ลาวครั่ง มอแกน มอแกลน อุรักละโว้ย รวมถึงตัวแทนของเด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองได้มีโอกาสเข้าร่วมเป็นสมาชิกสภาชนเผ่าพื้นเมืองในสัดส่วนของเด็กและเยาวชน ซึ่งได้ร่วมเรียนรู้ในเรื่องสภาชนเผ่าพื้นเมือง ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ในวันชนเผ่าพื้นเมือง วันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๘ ที่ผ่านมา รวมถึงการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนในความแตกต่างทางวัฒนธรรมเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และสถานการณ์ทางด้านสิทธิในพื้นที่ชุมชนของตนเองจากงานค่ายเครือข่ายเยาวชนต้นกล้าชนเผ่าพื้นเมือง
เมื่อวันที่ ๑๓ – ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๘ ซึ่งจากการดำเนินงานและการปรึกษาหารือร่วมกับเด็กเยาวชนและพี่เลี้ยงในแต่ละพื้นที่มาตลอด ส่งผลให้เครือข่ายเยาวชนต้นกล้าชนเผ่าพื้นเมืองเกิดแนวคิดในการขยายเครือข่ายเพื่อการยกระดับเป็นสภาเด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง เพื่อร่วมขับเคลื่อนงานของเด็กและเยาวชนควบคู่ไปกับงานสภาชนเผ่าพื้นเมืองของผู้ใหญ่ โดยที่ผ่านมาเครือข่ายได้จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพของแกนนำเด็กและเยาวชนมาอย่างต่อเนื่อง เช่น อบรมเรื่องภาวะการเป็นผู้นำ ทักษะการนำเสนอ และการจับประเด็น เป็นต้น รวมทั้งจัดงานมีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่อง วัฒนธรรม ดนตรี การแสดง ประเด็นการขับเคลื่อนงาน ความรู้ในเรื่องสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง ความรู้เกี่ยวกับสภาเด็กและเยาวชนประเทศไทย เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องสภาชนเผ่าพื้นเมือง และการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในสภาชนเผ่าพื้นเมือง เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้มีร่วมกันจัดเวทีสมัชชาเด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง ๒ ครั้ง เพื่อเป็นพื้นที่ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายเยาวชนต้นกล้าชนเผ่าพื้นเมือง และการยกระดับให้เกิดสภาเด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง และเป็นการตอบสนองความต้องการของเด็กและเยาวชนในการเรียนรู้เรื่องกลไกการจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชน การเปิดพื้นที่ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม การเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายเยาวชนต้นกล้าชนเผ่าพื้นเมืองและกลุ่มเด็กในระดับพื้นที่ และเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๙ เครือข่าย TKN ได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อเครือข่ายเพื่อให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายในทุกระดับ โดยใช้ชื่อเครือข่ายว่า “เครือข่ายเด็กและเยาวชนต้นกล้าชนเผ่าพื้นเมือง” ปัจจุบันมีสมาชิก จำนวน ๖๗๑ คน
ปัจจุบัน เครือข่ายเด็กและเยาวชนต้นกล้าชนเผ่าพื้นเมือง มีประธานเครือข่ายเด็กและเยาวชนต้นกล้าชนเผ่าพื้นเมือง แล้วทั้งหมด ๔ คน และมีคณะบริหารมาแล้ว ๔ ชุด ซึ่งคณะกรรมการบริหารชุดปัจจุบัน คือชุดที่ ๔ มีวาระการดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๖๔ – พ.ศ.๒๕๖๗ โดยมี นายสุรชาติ สมณา เป็นประธานเครือข่ายเด็กและเยาวชนต้นกล้าชนเผ่าพื้นเมือง TKN คนปัจจุบัน